การประชุมเกริกวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 19

การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
Resilience and Reinvention for Sustainability

รายละเอียดการประชุม

1. การบรรยายพิเศษทางวิชาการ (Keynote Speaker)

2. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation) และผลงานภาคนิทรรศการ (Poster Presentation) โดยแบ่งกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้

  1. นิติศาสตร์
  2. ศึกษาศาสตร์
  3. เศรษฐศาสตร์
  4. ศิลปศาสตร์
  5. นิเทศศาสตร์
  6. บริหารธุรกิจ
  7. สาธารณสุขศาสตร์
  8. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  9. รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  10. ภาษาจีนธุรกิจและการสอนภาษาจีน
  11. ศิลปและวัฒนธรรมจีน
  12. อิสลามศึกษาและบริหารธุรกิจอิสลาม

แผนและปฏิทินการจัดโครงการ

วัน/เดือน/ปี

รายการ

20 กันยายน 2566

เปิดรับบทความ

20 พฤศจิกายน 2566

วันสุดท้ายของการรับบทความ

27 พฤศจิกายน 2566

แจ้งผลการประเมินเพื่อผู้เขียนแก้ไขบทความ

4 ธันวาคม 2566

วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับแก้ไขแล้ว 1 ชุด พร้อมไฟล์บทความ (.docx+.pdf)

16 ธันวาคม 2566

นำเสนอผลงาน ในการประชุมเกริกวิชาการระดับชาติ
(1)   นำเสนอแบบ Oral Presentation โดยใช้ PowerPoint Presentation (10 นาที)
(2)  นำเสนอแบบ Poster ขนาด 0.90 x 1.4 m. (ผู้เขียนจัดเตรียมข้อมูลและจัดทำ Poster กระดาษ PP)

หลักเกณฑ์การส่งบทความเพื่อนําเสนอในการประชุมเกริกวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ

  1. ความยาวบทความจะต้องไม่เกิน 15 หน้า A4 หากเป็นโปสเตอร์จะต้องมีขนาด 0.9 x 1.4 ม.
  2. การนำเสนอผลงานแบบ Oral จะใช้ PowerPoint Presentation เป็นเวลา 10 นาที
  3. การนำเสนอผลงานแบบ Poster ผู้เขียนจะต้องจัดเตรียมข้อมูลและจัดทำ Poster ด้วยตนเอง รวมทั้งนำเสนอผลงานในช่วงเวลาที่กำหนด
  4. บทความที่ส่งมาต้องเขียนให้อยู่ในรูปแบบที่มหาวิทยาลัยเกริกกำหนดเท่านั้น (รูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง)
  5. บทความจะต้องเป็นบทความต้นฉบับซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณะมาก่อน และไม่ผิดจริยธรรมทางวิชาการ เช่น การลอกเลียนผลงาน การส่งต้นฉบับซ้ำหลายครั้ง เป็นต้น

การลงทะเบียน

  1. ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไงต่อไปนี้

    1. ชำระค่าธรรมเนียมโดยจ่ายผ่านธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยเกริก เลขที่บัญชี 060-1-065018 กรุณาระบุตามประเภท ดังนี้

      ประเภท

      นศ. ม.เกริก

      บุคคลมหาวิทยาลัย
      เครือข่าย

      บุคคลทั่วไป

      นานาชาติ

      1) บทความ (ไม่เกิน 15 หน้า A4)

      1,000 บาท

      1,500 บาท

      4,000 บาท

      4,000 บาท

      2) โปสเตอร์ (ขนาด 0.90 x 1.4 m.)

      1,700 บาท

      2,200 บาท

      4,700 บาท

      4,700 บาท

    2. หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้วกรุณาส่งเอกสารทั้ง 3 รายการ มาที่
      1) ข้อมูลตามแบบฟอร์มการส่งบทความ (ไฟล์ .docx และ .pdf)
      2) ใบโอนเงิน (ไฟล์ .pdf)
      3) บทความ (ไฟล์ .docx และ .pdf)

    หมายเหตุ :

           1. ผู้เขียนไม่สามารถขอคืนค่าธรรมเนียมได้ในทุกกรณี (กรุณาศึกษารายละเอียดก่อนส่งบทความ)
           2. ผู้ส่งบทความสังกัดมหาวิทยาลัยเกริกทั้งอาจารย์และนักศึกษากรุณาติดต่อและส่งบทความที่คณะของตนเอง
           3. เจ้าของบทความจำเป็นต้องส่งบทความเข้ามาด้วยตนเองเท่านั้น

การส่งบทความ

ปิดรับบทความ

กำหนดการ

การประชุมเกริกวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี พ.ศ.2566 ครั้งที่ 19
 “การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน”
วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2566
ณ มหาวิทยาลัยเกริก ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

เวลา

รายการ

08.00 – 08.30 น.

ลงทะเบียน

08.30

ผู้นำเสนอผลงานวิชาการแบบโปสเตอร์เข้าประจำ ณ ป้ายแสดงนิทรรศการ บริเวณหน้าศูนย์ประชุมนานาชาติ อาคาร ดร.เกริก

08.30 – 09.00 น.

คณะกรรมการจัดงานฯ เชิญประธานเข้าชมนิทรรศการและโปสเตอร์ ณ ศูนย์ประชุมวิชาการนานาชาติ อาคาร ดร.เกริก

09.00 – 09.15 น.

พิธีเปิด การประชุมเกริกวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2566ณ ศูนย์ประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “การพัฒนาวิถีใหม่เพื่อสังคมที่ยั่งยืน”

  • กล่าวรายงานโดย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รองศาสตราจารย์ สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย

09.15 – 10.00 น.

เปิดงานและปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน” โดย นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร

 10.00 – 10.30 น.

การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Resilience and Reinvention for Sustainability: Deviantization of
Islamic Studies” โดย Prof. Dato’ Dr. Wan Sabri Bin Wan Yusof Vice Chancellor of Universiti Sultan Azlan Shah University, Malaysia

10.30 – 11.00 น.

การบรรยายพิเศษ หัวข้อ Achieving Sustainability through Reinvention and Resilience Towards UNISSA Smart Islamic Institution โดย Prof.Dr. Abdul Hafidz Omar, Dean of Faculty of Islamic Technology, Universiti Islam Sultan Sharif Ali (UNISSA) Brunei Darussalam

11.00 – 11.30 น.

การบรรยายพิเศษ หัวข้อ The current needs and issues in cross-border higher education โดย Prof. Liu Zhenping, Vice-Dean, School of International Education of Nanning Normal University

11.30 – 12.30 น.

การนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2 เรื่อง ทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัยเกริก
1. โครงการวิจัย “การพัฒนากลุ่มอาชีพน้ำพริกเห็ดสู่วิสาหกิจชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนพูนทรัพย เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร” โดย ผศ.ดร.ชเนตตี พิพัฒนางกูร และคณะ
2. โครงการวิจัย “การยกระดับความรู้สู่การพัฒนาหลักสูตรบัญชีชุมชนที่มีมาตรฐานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร” โดย ผศ.จินดา จอกแก้ว และคณะ

12.30 – 13.30 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30 – 17.00 น.

การนำเสนอผลงานวิชาการของอาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลภายนอก

ติดต่อเรา​

(สําหรับบุคคลภายนอก)
       ภาษาไทย : สถาบันวิจัยและนวัตกรรม 02-5523500-9 ต่อ 402
       ภาษาอังกฤษ :อาจารย์อลงกรณ์ อาชะวะบูล ต่อ 430
       ภาษาจีน : วิทยาลัยนานาชาติ ต่อ 424
       และ วิทยาลัยนานาชาติ ภาษาและวัฒนธรรมจีน ต่อ 230
       ภาษาอาหรับ : อาจารย์สราวุธ และซัน ต่อ 640,641

(สําหรับนักศึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัยเกริก)
       คณะบริหารธุรกิจ : อาจารย์ ดร. ณัฐพงษ์ แต้มแก้ว | เบอร์โทร 085-969-696, 02-5523500-9 สายในต่อ 225 หรือ 215
       คณะศิลปะศาสตร์ : อาจารย์ ประพันธ์ แก้วคํา | เบอร์โทร 095-503-5370, 02-5523500-9 สายในต่อ 650
       คณะนิติศาสตร์ : อาจารย์ ดร. ปัญม์ณิสาธ์ องค์ปรัชญากุล | เบอร์โทร 062-359-6622, 02-5523500-9 สายในต่อ 227
       วิทยาลัยนานาชาติ : คุณ ชลลดา โล่สุวรรณ | เบอร์โทร 097-095-3411, 02-5523500-9 สายในต่อ 424
       วิทยาลัยนานาชาติภาษาและวัฒนธรรมจีน : คุณ ศิวพร อะทะไชย | เบอร์โทร 099-242-7733, 02-5523500-9 สายในต่อ 230
       วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ : อาจารย์ ดร.บัณฑิต อารอมัน | เบอร์โทร 02-5523500-9 สายในต่อ 641

Scroll to Top