เกี่ยวกับคณะ

ประวัติคณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยเกริกเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่และได้รับการพัฒนาเรื่อยมา นับตั้งแต่เริ่มเปิดการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2495 ซึ่งเดิมเปิดเป็นโรงเรียนสอนภาษาและวิชาชีพที่อาคาร ก. ถนนราชดำเนิน ต่อมาปี พ.ศ.2505 ได้เปิดรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8 เข้าศึกษาในระดับอนุปริญญาในสาขาบริหารธุรกิจ ซึ่งในระยะต่อมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 

ใน ปี พ.ศ. 2512 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยเอกชน โรงเรียนเกริกวิทยาลัยได้ขยายหลักสูตรการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี และปี พ.ศ. 2513 วิทยาลัยเกริกถือว่าเป็นวิทยาลัยเอกชนรุ่นแรกของประเทศไทย ที่ได้รับอนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีในคณะต่าง ๆ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ และจากนั้นคณะบริหารธุรกิจได้เปิดดำเนินการและมีพัฒนาการเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

ผู้บริหารคณะ

อาจารย์ ดร.อนุสรณ์ คุณานุสรณ์

คณบดีคณะบริหารธุรกิจ และ รักษาการผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

ผศ.จินดา จอกแก้ว

รองคณบดี และ รักษาการผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

MR. LI, KUNKUN

รองคณบดีฝ่ายการตลาดและการต่างประเทศ

ผศ.ดร.ณัฐพร ฉายประเสริฐ

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

อาจารย์ ดร.สิทธปวีย์ ธนโสตถิกุลนันท์

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีการศึกษา และ รักษาการหัวหน้าสาขาวิชานวัตกรรมการตลาด (ระบบการศึกษาทางไกล)

อาจารย์ ณัฐพล มหาทรัพย์

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและเสริมสัมพันธ์ และ รักษาการหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน

ดร.พงศ์ธวัช จันทบูลย์

ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

อาจารย์ ดร.อำพล ขำวิลัย

ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน

อาจารย์ ดร.ณัฐพงษ์ แต้มแก้ว

ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระหว่างประเทศ

อาจารย์ ดร.พิทยุช ญาณพิทักษ์

ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมไทย จีน อาเซียน (ระบบการศึกษาทางไกล)

อาจารย์ ณัฐถะปราน คล้ายประสิทธิ์

หัวหน้าหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล)

อาจารย์ ศุภรดา ไชยรบ

หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระหว่างประเทศ

อาจารย์ ธีระพงศ์ สิงห์บุตร

รักษาการหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระหว่างประเทศ (ระบบการศึกษาทางไกล)

อาจารย์ สุกันตา มันทะนา

หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรม และ รักษาการหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรม (ระบบการศึกษาทางไกล)

อาจารย์ นิรัญ งามเกิด

หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ

อาจารย์ ไพศาล อรุณโชคนำลาภ

หัวหน้าสาขาวิชานวัตกรรมการตลาด

อาจารย์ ภาวรินทร์ สวัสดิ์ไธสง

หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และ รักษาการหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ (ระบบศึกษาทางไกล)

อาจารย์ อนุสรา มู่ฮัมหมัด

รักษาการหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมธุรกิจและเทคโนโลยีสมัยใหม่

บุคลากรคณะ

นางสาว อรอินทุ์ พรานพนัส

เลขานุการคณะบริหารธุรกิจ

นาง สุมาลี พานโคตร

เลขานุการโครงการหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

นาง ปิ่นหทัย จันดาวัน

เจ้าหน้าที่ธุรการคณะบริหารธุรกิจ

นางสาว พัชรา สังศิริ

เจ้าหน้าที่ประจำคณะบริหารธุรกิจ

นางสาว อาริต้า เส็นทอง

เจ้าหน้าที่ประจำคณะบริหารธุรกิจ

ประวัติการพัฒนาปรับปรุงคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก

พ.ศ. 2565, ค.ศ. 2022

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม ได้ย้ายไปสังกัดวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ 
  • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และผ่านการรับรองหลักสูตรจากสภา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 (เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุง ภาคต้น ปีการศึกษา 2565)
พ.ศ. 2565, ค.ศ. 2022

พ.ศ. 2564, ค.ศ. 2021

  • เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม , สาขาวิชานวัตกรรมการตลาด (ระบบการศึกษาทางไกล) และ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล) ภาคปลาย
พ.ศ. 2564, ค.ศ. 2021

พ.ศ. 2563, ค.ศ. 2020

  • เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรม (ระบบการศึกษาทางไกล)
  • เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมธุรกิจไทย จีน อาเซียน (ระบบการศึกษาทางไกล) ภาคปลาย
พ.ศ. 2563, ค.ศ. 2020

พ.ศ. 2562, ค.ศ. 2019

  • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการโลจิสติกส์(เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุง ภาคปลาย ปีการศึกษา 2532) และการจัดการธุรกิจการบิน (เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุง ภาคปลาย ปีการศึกษา 2563)

  • เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)
พ.ศ. 2562, ค.ศ. 2019

พ.ศ. 2560, ค.ศ. 2017

  • ปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต

  • ปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร

  • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณธิตและหลักสูตรบัญชีบัณฑิต โดยเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ในปีการศึกษา 2560
พ.ศ. 2560, ค.ศ. 2017

พ.ศ. 2557, ค.ศ. 2014

  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิตย้ายมาสังกัดคณะบริหารธุรกิจ

  • งดรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
พ.ศ. 2557, ค.ศ. 2014

พ.ศ. 2555, ค.ศ. 2012

  • เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน และทุกหลักสูตรของคณะฯ จัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF : Hed.)

  • งดรับนักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
พ.ศ. 2555, ค.ศ. 2012

พ.ศ. 2554, ค.ศ. 2011

ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตและ หลักสูตรบัญชีบัณฑิตเพื่อพร้อมเปิดดำเนินการหลักสูตรใหม่ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF : Hed.)

พ.ศ. 2554, ค.ศ. 2011

พ.ศ. 2552, ค.ศ. 2009

  • มหาวิทยาลัยปรับโครงสร้างองค์กร ตั้งแต่ภาคต้น ปีการศึกษา 2552 โดยโอนย้ายหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คือ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มาสังกัดคณะบริหารธุรกิจ

  • รับรองมาตรฐานการศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
พ.ศ. 2552, ค.ศ. 2009

พ.ศ. 2551, ค.ศ. 2008

  • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และหลักสูตรบัณชีบัณฑิต ทั้งหลักสูตร 4 ปี และต่อเนื่อง

  • รับรองมาตรฐานการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ
พ.ศ. 2551, ค.ศ. 2008

พ.ศ. 2550, ค.ศ. 2007

เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ และภาคค่ำ)

พ.ศ. 2550, ค.ศ. 2007

พ.ศ. 2549, ค.ศ. 2006

เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการหลักสูตร 4 ปี และต่อเนื่อง 2 ปี

พ.ศ. 2549, ค.ศ. 2006

พ.ศ. 2546, ค.ศ. 2003

ปรับปรุงหลักสูตร “บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี” เป็น “หลักสูตรบัญชีบัณฑิต”

พ.ศ. 2546, ค.ศ. 2003

พ.ศ. 2545, ค.ศ. 2002

ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตทุกสาขาวิชาโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2546

พ.ศ. 2545, ค.ศ. 2002

พ.ศ. 2542, ค.ศ. 1999

ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารงานบุคคล และเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาจาก “การบริหารงานบุคคล” เป็นสาขาวิชา “การจัดการทรัพยากรมนุษย์”

พ.ศ. 2542, ค.ศ. 1999

พ.ศ. 2541, ค.ศ. 1998

  • เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ต่อเนื่อง) ภาคปกติ และภาคค่ำ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา พร้อมหลักสูตร 4 ปี ซึ่งได้เปิดดำเนินการก่อน

  • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ. 2541, ค.ศ. 1998

พ.ศ. 2539, ค.ศ. 1996

ปิดดำเนินการสาขาวิชาการเลขานุการ

พ.ศ. 2539, ค.ศ. 1996

พ.ศ. 2538, ค.ศ. 1995

สาขาวิชาการเงินได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนชื่อสาขาวิชาเป็น “การเงินและการธนาคาร”

พ.ศ. 2538, ค.ศ. 1995

พ.ศ. 2537, ค.ศ. 1994

รับรองมาตรฐานการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ และภาคค่ำ) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พ.ศ. 2537, ค.ศ. 1994

พ.ศ. 2536, ค.ศ. 1993

ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตหลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ และภาคค่ำ) สาขาวิชาการเลขานุการ

พ.ศ. 2536, ค.ศ. 1993

พ.ศ. 2534, ค.ศ. 1991

เปิดดำเนินการสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจหลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ และภาคค่ำ) และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2537

พ.ศ. 2534, ค.ศ. 1991

พ.ศ. 2532, ค.ศ. 1989

เปิดดำเนินการหลักสูตรต่อเนื่อง สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงิน สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการบริหารงานบุคคล และสาขาวิชาการเลขานุการ (ภาคปกติ) ทั้งนี้ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องพร้อมหลักสูตร 4 ปีซึ่งได้เปิดดำเนินการก่อน

พ.ศ. 2532, ค.ศ. 1989

พ.ศ. 2516, ค.ศ. 1973

เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

พ.ศ. 2516, ค.ศ. 1973
Scroll to Top